วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism learning theory)

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
ทฤษฎีนี้มีรากฐานมาจากทฤษฎีการสร้างเชาว์ปัญญาของเพียเจต์ ( Piajet )ซึ่งอธิบายว่า โครงสร้างทางสติปัญญาของมนุษย์นั้นมีการพัฒนาผ่านทางกระบวนการดูดซับหรือซึมซับและกระบวนการปรับโครงสร้างทางสติปัญญา ( accommodation) เพื่อให้บุคคลอยู่ในภาวะสมดุล ( equilibrium) ซึ่งเพียเจต์เชื่อว่าทุกคลจะมีพัฒนาการตามลำดับขั้นจากการมีปฏิสัมพันธ์และประสบการณ์กับสิ่งแวดล้อมและสังคม นักทฤษฎีกลุ่มที่เชื่อในทฤษฎีนี้เห็นว่า แม้โลกนี้จะมีอยู่จริง แต่ความหมายของสิ่งต่าง ๆ มิได้มีอยู่ในตัวของมันเอง สิ่งต่าง ๆ มีความหมายขึ้นมาจากการคิดของคนที่รับรู้สิ่งนั้น ๆ ดังนั้น สิ่งต่าง ๆ ในโลกจึงจึงไม่มีความหมายที่ถูกต้องหรือเป็นจริงที่สุดแต่ขึ้นกับการให้ความหมายของคนในโลก ดังนั้นทฤษฎีจึงให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการแปลความหมายและสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ต่างๆ และถือว่าสมองเป็นเครื่องมือสำคัญที่บุคคลใช้ในการแปลความหมายของปรากฏการณ์ต่างๆในโลกนี้ซึ่งการแปลความหมายของแต่ละคนจะขึ้นกับการรับรู้ ประสบการณ์ ความเชื่อความต้องการ ความสนใจ และภูมิหลังของแต่ละบุคคลซึ่งมีความแตกต่างกันดังนั้นการสร้างความหมายของข้อมูลความรู้และประสบการณ์ต่างๆขึงเป็นเรื่องเฉพาะตนที่บุคคลจะต้องใช้กระบวนการทางสติปัญญาในการจัดกระทำ (Acting on) มิใช่เพียงการรับ (Taking in) ข้อมูลเท่านั้น
การเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเอง
ลักษณะของผู้เรียน
ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีลักษณะเฉพาะตัว มีความต้องการที่แตกต่างกัน มีพื้นเพไม่เหมือนกัน และทุกคนจะมีความซับซ้อนในหลายมิติ โดยผู้เรียนสามารถเข้าถึงเป้าหมายที่ต้องการได้ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางวัฒนธรรมของแต่ละคน เช่น เด็กๆ สามารถพัฒนาความสามารถในการคิด จากการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน กับผู้ใหญ่ หรือกับสิ่งแวดล้อม สำหรับทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองนี้ก็จะให้ความสำคัญกับการนำเอาพื้นฐานทางวัฒนธรรมเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนมาก การเสริมแรงกระตุ้นก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยแก้ปัญหาและทำให้ผู้เรียนเกิดความเชื่อมั่นในการเรียน ประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จ เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความเชื่อมั่นว่าจะสามารถทำสิ่งอื่นที่มีความยากหรือซับซ้อนกว่านั้นได้
บทบาทของครูผู้สอน
สำหรับบทบาทของครูจากทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเองจะทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษา ให้ความสะดวก จัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม โดยครูต้องมีรูปแบบการสอนที่หลากหลาย ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความท้าทาย รู้จักคิดและช่วยเหลือผู้เรียนให้เข้าถึงความรู้ ตามแบบฉบับของตนเอง ส่วนครูทั่วไปจะมีบทบาทแค่เพียงผู้บอกความรู้ หรือจดเนื้อหาให้ผู้เรียนจดตามเท่านั้น
ลักษณะของกระบวนการเรียนรู้
การเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เป็นรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางสังคม และการปฎิบัติจริง โดยผู้เรียนจะเรียนรู้และสร้างความรู้ได้จากสังคมที่อยู่ จากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน หรือจากเพื่อน ผู้เรียนจะเรียนรู้วิธีการหาแนวคิดรวบยอด ด้วยตัวเอง โดยแต่ละคนก็จะมีวิธีการของที่แตกต่างกันเนื่องจากมีภูมิหลังและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ในการร่วมกันคิด และเข้าถึงองค์ความรู้ที่แท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น